วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความหนาแน่นกระแส Green Screen

ความหนาแน่นกระแส
 
อุปกรณ์ที่ใช้
1.แหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า
 
 
2.เส้นลวดขนาด 0.2 ตร.มม. และขนาด 0.1 ตร.มม.

 
ขั้นตอนการใช้งาน
นำอุปกรณ์แหล่งจ่ายและเส้นลวดมาต่ออนุกรมกัน
 


 
โดยนำแหล่งจ่ายต่อเข้ากับเส้นลวด 0.2 ตร.มม. และ 0.1 ตร.มม. ตามลำดับ และทำการปรับแหล่งจ่ายกระแสช้าๆ เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเส้นลวดว่าเกิดอะไรขึ้น
 
 

 
 
เมื่อถึงจุดๆ นึงเส้นลวดขนาด 0.1 ตร.มม. เกิดความร้อนมากกว่าเส้นลวด 0.2 ตร.มม.
 




 สรุป
เส้นลวดตัวนำเส้นใหญ่ก็เปรียบเหมือนถนนเส้นใหญ่ที่มีหลายเลน ก็ทำให้กระแสไหลผ่านเส้นลวดได้สะดวกเร็วขึ้น และความหนาแน่นน้อยลงตาม แต่ถ้าเส้นลวดเส้นเล็กก็เปรียบเป็นถนนเลนเดียว ก็จะทำให้กระแสไหลผ่านตัวนำไปได้ช้า ความหนาแน่นก็เพิ่มมากขึ้น


 
จัดทำโดย
 
นายธนากรณ์   อินปันส่วน  5402021613124
นายภาสกร   กี่บุตร   5402021623154

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วิธีระบบ (System approach)

ระบบ หมายถึง องค์ประกอบต่างๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้
 
ลักษณะของระบบที่ดี คือต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธฺภาพ และมีความยั่งยืน ระบบมี 4 ลักษณะ
- มีปฏิสัมพันธ์กับสิงแวดล้อม
- มีจุดหมาย
- มีการรักษาสภาพตนเอง
- มีการแก้ไขตนเอง
 
วิธีระบบ คือแนวทางการพิจารณาและแก้ไขปัญหา เพื่อให้มีความผิดพลาดน้อยสุดและใช้ทรัพยากรณ์ที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด วิธีระบบจะต้องมี
- องค์ประกอบ
- ความสัมพันธ์ การโต้ตอบ
- วัตถุประสงค์
 
องค์ประกอบ ที่สำคัญมี 4 ประการ
1 ข้อมูล หมายถึง สิ่งที่ต้องใช้ในกระบวนการ
2 กระบวนการ หมายถึง การนำสิ่งที่ป้อนเข้าไปมาจัดทำให้เกิดผลตามที่ต้องการ
3 ผลผลิต หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง
4 การตรวจผลย้อนกลับ หมายถึง การนำเอาผลมาพิจารณาปรับปรุงให้ดีขึ้น
 
 
 
 
ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ
1. เป็นการทำงานร่วมกันในระบบนั้น ๆ
2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
4. เป็นการแก้ปัญหา
5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้
 
การวิเคราะห์ระบบ
การวิเคราะห์ระบบเป็นการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อตรวจสอบโครงสร้าง ขั้นตอน การดำเนินงานของระบบ มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา
ขั้นที่ 2 กำหนดขอบข่ายของปัญหา
ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ปัญหา
ขั้นที่ 4 กำหนดแนวทางแก้ปัญหา
ขั้นที่ 5 เลือกแนวทางแก้ปัญหา
ขั้นที่ 6 วางแผนเตรียมการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 7 นำไปทดลองกับกลุ่มย่อย
ขั้นที่ 8 ควบคุมตรวจสอบ
 
การนำวิธีระบบมาใช้ในการเรียนการสอน
ระบบการเรียนการสอน จะประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานสัมพันธ์กัน และระบบสามารถปรับปรุง ปรับทิศทางได้ จากการตรวจสอบจากข้อมูลป้อนกลับ
 
การออกแบบการเรียนการสอน
เป็นกระบวนการนำรูปแบบ ที่มีผู้คิดสร้างไว้แล้วมาใช้ตามขั้นตอน

ความหมายของการออกแบบระบบการเรียนการสอน การกำหนดรายละเอียด รายการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา การประเมินและการทำนุบำรุงรักษาให้คงไว้ของสภาวะต่าง ๆ เพื่อทำให้ เกิดการเรียนรู้
 
ปัญหาในระบบการเรียนการสอน ที่ต้องตระหนักและพยายามหลีกเลี่ยงปัญหา
- ปัญหาด้านทิศทาง
- ปัญหาด้านการวัดผล
- ปัญหาด้านวิธีการ
- ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ

องค์ประกอบของการออกแบบระบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กัน และในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนจะมีกลไกในการปรับปรุงแก้ไขตัวเอง

รูปแบบดั้งเดิม
1.การวิเคราะห์
2.การออกแบบ
3.การพัฒนา
4.การนำไปใช้ 
5.การประเมินผล

การออกแบบการเรียนการสอน
   โดยนำหลักการของระบบมาใช้ในการออกแบบ ซึ่งประกอบด้วย ตัวป้อน กระบวนการ และผลผลิต
- ตัวป้อน (Input) คือ ส่วนประกอบต่างๆ ที่นำเข้าสู่ระบบได้แก่ ผู้สอน ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก
- กระบวนการ ( Process ) คือ การดำเนินการสอนซึ่งเป็นการนำเอาตัวป้อนเป็นวัตถุดิบในระบบมาดำเนินการเพื่อให้เกิดผลผลิตตามที่ต้องการ
- ผลผลิต ( Output ) คือ ผลที่เกิดขึ้นในระบบการเรียนการสอนผลผลิตที่ต้องการก็คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปในทางที่พึงประสงค์


 



 
 
 

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หลักการออกแบบ Principle of design

1.ความกลมกลืน คือ การออกแบบให้เกิดความกลมกลืนให้เหมาะสมจะทำให้การออกแบบนั้นออกมาสวยงามความกลมกลืนในการออกแบบมีดังนี้
1.1 ความกลมกลืนของเส้นและรูปร่าง
1.2 ความกลมกลืนของขนาดและทิศทาง
1.3 ความกลมกลืนกันของสีและบริเวณว่าง
1.4 ความกลมกลืนกันของความคิดและจุดมุ่งหมาย
1.5 ความกลมกลืนกันของลักษณะผิวและจังหวะ
 
2.สัดส่วน คือ การออกแบบที่มีสัดส่วนที่ดีจะช่วยให้งานออกแบบมีความสมดุล ช่วยให้งานออกมาสวยงามยิ่งขึ้น3.ความสมดุล คือ ความรู้สึกที่เท่ากันทั้งสองด้านทำให้ดูสง่างาม น่าสนใจ มีความเป็นระเบียบ ความสมดุลแบ่ง 2 ชนิด
3.1 ความสมดุลที่เหมือนกันทั้งสองข้าง(สมมาตร)
3.2 ความสมดุลทีทั้งสองข้างไม่เหมือนกัน(อสมมาตร)
4.จังหวะและการเคลื่อนไหว เป็นรูปแบบของการเคลื่อนไหว หรือการซ้ำกับของสิ่งของ เช่น การเต้นรำ การเดิน เป็นต้น
5.การเน้น เป็นการสร้างจุดเด่นเพื่อนดึงดูดใจ เช่น การเน้นสี เส้น รูปร่าง ขนาด เป็นต้น
6.เอกภาพ เป็นใจความหลักใจความเดียวของความคิด ที่อยู่รวมกันไม่สามารถแยกออกได้ ถ้าขาดเอกภาพจะทำให้ขาดแรงจูงใจ
7.การตัดกัน คือ การขัดกันในลักษณะตรงกันข้ามเพื่อให้ผลงานมีความเด่นชัด เช่น การใช้สีตัดกัน เส้นตั้งตัดกับเส้นนอน เป็นต้น

องค์ประกอบการออกแบบ
1.จุด เป็นส่วนประกอบที่เล็กที่สุด เมื่อต่อเรียงกันทำให้เห็นเป็นเส้น
2.เส้น เป็นสิ่งที่เชื่อมต่อระหว่างจุด 2 จุด
3.รูปร่าง มี 2 ลักษณะ
- แบบสองมิติ ไม่มีปริมาตรหรือมวล
- แบบสามมิติมี มีปริมาตรและมวล
4.ปริมาตร เป็นสิ่งที่มีสามมิติ มีด้านกว้าง ยาว และสูง
5.ลักษณะพื้นผิว
6.บริเวณว่าง
7.สี
8.น้ำหนัก