วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วิธีระบบ (System approach)

ระบบ หมายถึง องค์ประกอบต่างๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้
 
ลักษณะของระบบที่ดี คือต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธฺภาพ และมีความยั่งยืน ระบบมี 4 ลักษณะ
- มีปฏิสัมพันธ์กับสิงแวดล้อม
- มีจุดหมาย
- มีการรักษาสภาพตนเอง
- มีการแก้ไขตนเอง
 
วิธีระบบ คือแนวทางการพิจารณาและแก้ไขปัญหา เพื่อให้มีความผิดพลาดน้อยสุดและใช้ทรัพยากรณ์ที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด วิธีระบบจะต้องมี
- องค์ประกอบ
- ความสัมพันธ์ การโต้ตอบ
- วัตถุประสงค์
 
องค์ประกอบ ที่สำคัญมี 4 ประการ
1 ข้อมูล หมายถึง สิ่งที่ต้องใช้ในกระบวนการ
2 กระบวนการ หมายถึง การนำสิ่งที่ป้อนเข้าไปมาจัดทำให้เกิดผลตามที่ต้องการ
3 ผลผลิต หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง
4 การตรวจผลย้อนกลับ หมายถึง การนำเอาผลมาพิจารณาปรับปรุงให้ดีขึ้น
 
 
 
 
ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ
1. เป็นการทำงานร่วมกันในระบบนั้น ๆ
2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
4. เป็นการแก้ปัญหา
5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้
 
การวิเคราะห์ระบบ
การวิเคราะห์ระบบเป็นการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อตรวจสอบโครงสร้าง ขั้นตอน การดำเนินงานของระบบ มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา
ขั้นที่ 2 กำหนดขอบข่ายของปัญหา
ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ปัญหา
ขั้นที่ 4 กำหนดแนวทางแก้ปัญหา
ขั้นที่ 5 เลือกแนวทางแก้ปัญหา
ขั้นที่ 6 วางแผนเตรียมการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 7 นำไปทดลองกับกลุ่มย่อย
ขั้นที่ 8 ควบคุมตรวจสอบ
 
การนำวิธีระบบมาใช้ในการเรียนการสอน
ระบบการเรียนการสอน จะประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานสัมพันธ์กัน และระบบสามารถปรับปรุง ปรับทิศทางได้ จากการตรวจสอบจากข้อมูลป้อนกลับ
 
การออกแบบการเรียนการสอน
เป็นกระบวนการนำรูปแบบ ที่มีผู้คิดสร้างไว้แล้วมาใช้ตามขั้นตอน

ความหมายของการออกแบบระบบการเรียนการสอน การกำหนดรายละเอียด รายการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา การประเมินและการทำนุบำรุงรักษาให้คงไว้ของสภาวะต่าง ๆ เพื่อทำให้ เกิดการเรียนรู้
 
ปัญหาในระบบการเรียนการสอน ที่ต้องตระหนักและพยายามหลีกเลี่ยงปัญหา
- ปัญหาด้านทิศทาง
- ปัญหาด้านการวัดผล
- ปัญหาด้านวิธีการ
- ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ

องค์ประกอบของการออกแบบระบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กัน และในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนจะมีกลไกในการปรับปรุงแก้ไขตัวเอง

รูปแบบดั้งเดิม
1.การวิเคราะห์
2.การออกแบบ
3.การพัฒนา
4.การนำไปใช้ 
5.การประเมินผล

การออกแบบการเรียนการสอน
   โดยนำหลักการของระบบมาใช้ในการออกแบบ ซึ่งประกอบด้วย ตัวป้อน กระบวนการ และผลผลิต
- ตัวป้อน (Input) คือ ส่วนประกอบต่างๆ ที่นำเข้าสู่ระบบได้แก่ ผู้สอน ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก
- กระบวนการ ( Process ) คือ การดำเนินการสอนซึ่งเป็นการนำเอาตัวป้อนเป็นวัตถุดิบในระบบมาดำเนินการเพื่อให้เกิดผลผลิตตามที่ต้องการ
- ผลผลิต ( Output ) คือ ผลที่เกิดขึ้นในระบบการเรียนการสอนผลผลิตที่ต้องการก็คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปในทางที่พึงประสงค์


 



 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น