วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความหนาแน่นกระแส Green Screen

ความหนาแน่นกระแส
 
อุปกรณ์ที่ใช้
1.แหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า
 
 
2.เส้นลวดขนาด 0.2 ตร.มม. และขนาด 0.1 ตร.มม.

 
ขั้นตอนการใช้งาน
นำอุปกรณ์แหล่งจ่ายและเส้นลวดมาต่ออนุกรมกัน
 


 
โดยนำแหล่งจ่ายต่อเข้ากับเส้นลวด 0.2 ตร.มม. และ 0.1 ตร.มม. ตามลำดับ และทำการปรับแหล่งจ่ายกระแสช้าๆ เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเส้นลวดว่าเกิดอะไรขึ้น
 
 

 
 
เมื่อถึงจุดๆ นึงเส้นลวดขนาด 0.1 ตร.มม. เกิดความร้อนมากกว่าเส้นลวด 0.2 ตร.มม.
 




 สรุป
เส้นลวดตัวนำเส้นใหญ่ก็เปรียบเหมือนถนนเส้นใหญ่ที่มีหลายเลน ก็ทำให้กระแสไหลผ่านเส้นลวดได้สะดวกเร็วขึ้น และความหนาแน่นน้อยลงตาม แต่ถ้าเส้นลวดเส้นเล็กก็เปรียบเป็นถนนเลนเดียว ก็จะทำให้กระแสไหลผ่านตัวนำไปได้ช้า ความหนาแน่นก็เพิ่มมากขึ้น


 
จัดทำโดย
 
นายธนากรณ์   อินปันส่วน  5402021613124
นายภาสกร   กี่บุตร   5402021623154

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วิธีระบบ (System approach)

ระบบ หมายถึง องค์ประกอบต่างๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้
 
ลักษณะของระบบที่ดี คือต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธฺภาพ และมีความยั่งยืน ระบบมี 4 ลักษณะ
- มีปฏิสัมพันธ์กับสิงแวดล้อม
- มีจุดหมาย
- มีการรักษาสภาพตนเอง
- มีการแก้ไขตนเอง
 
วิธีระบบ คือแนวทางการพิจารณาและแก้ไขปัญหา เพื่อให้มีความผิดพลาดน้อยสุดและใช้ทรัพยากรณ์ที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด วิธีระบบจะต้องมี
- องค์ประกอบ
- ความสัมพันธ์ การโต้ตอบ
- วัตถุประสงค์
 
องค์ประกอบ ที่สำคัญมี 4 ประการ
1 ข้อมูล หมายถึง สิ่งที่ต้องใช้ในกระบวนการ
2 กระบวนการ หมายถึง การนำสิ่งที่ป้อนเข้าไปมาจัดทำให้เกิดผลตามที่ต้องการ
3 ผลผลิต หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง
4 การตรวจผลย้อนกลับ หมายถึง การนำเอาผลมาพิจารณาปรับปรุงให้ดีขึ้น
 
 
 
 
ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ
1. เป็นการทำงานร่วมกันในระบบนั้น ๆ
2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
4. เป็นการแก้ปัญหา
5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้
 
การวิเคราะห์ระบบ
การวิเคราะห์ระบบเป็นการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อตรวจสอบโครงสร้าง ขั้นตอน การดำเนินงานของระบบ มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา
ขั้นที่ 2 กำหนดขอบข่ายของปัญหา
ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ปัญหา
ขั้นที่ 4 กำหนดแนวทางแก้ปัญหา
ขั้นที่ 5 เลือกแนวทางแก้ปัญหา
ขั้นที่ 6 วางแผนเตรียมการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 7 นำไปทดลองกับกลุ่มย่อย
ขั้นที่ 8 ควบคุมตรวจสอบ
 
การนำวิธีระบบมาใช้ในการเรียนการสอน
ระบบการเรียนการสอน จะประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานสัมพันธ์กัน และระบบสามารถปรับปรุง ปรับทิศทางได้ จากการตรวจสอบจากข้อมูลป้อนกลับ
 
การออกแบบการเรียนการสอน
เป็นกระบวนการนำรูปแบบ ที่มีผู้คิดสร้างไว้แล้วมาใช้ตามขั้นตอน

ความหมายของการออกแบบระบบการเรียนการสอน การกำหนดรายละเอียด รายการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา การประเมินและการทำนุบำรุงรักษาให้คงไว้ของสภาวะต่าง ๆ เพื่อทำให้ เกิดการเรียนรู้
 
ปัญหาในระบบการเรียนการสอน ที่ต้องตระหนักและพยายามหลีกเลี่ยงปัญหา
- ปัญหาด้านทิศทาง
- ปัญหาด้านการวัดผล
- ปัญหาด้านวิธีการ
- ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ

องค์ประกอบของการออกแบบระบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กัน และในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนจะมีกลไกในการปรับปรุงแก้ไขตัวเอง

รูปแบบดั้งเดิม
1.การวิเคราะห์
2.การออกแบบ
3.การพัฒนา
4.การนำไปใช้ 
5.การประเมินผล

การออกแบบการเรียนการสอน
   โดยนำหลักการของระบบมาใช้ในการออกแบบ ซึ่งประกอบด้วย ตัวป้อน กระบวนการ และผลผลิต
- ตัวป้อน (Input) คือ ส่วนประกอบต่างๆ ที่นำเข้าสู่ระบบได้แก่ ผู้สอน ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก
- กระบวนการ ( Process ) คือ การดำเนินการสอนซึ่งเป็นการนำเอาตัวป้อนเป็นวัตถุดิบในระบบมาดำเนินการเพื่อให้เกิดผลผลิตตามที่ต้องการ
- ผลผลิต ( Output ) คือ ผลที่เกิดขึ้นในระบบการเรียนการสอนผลผลิตที่ต้องการก็คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปในทางที่พึงประสงค์


 



 
 
 

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หลักการออกแบบ Principle of design

1.ความกลมกลืน คือ การออกแบบให้เกิดความกลมกลืนให้เหมาะสมจะทำให้การออกแบบนั้นออกมาสวยงามความกลมกลืนในการออกแบบมีดังนี้
1.1 ความกลมกลืนของเส้นและรูปร่าง
1.2 ความกลมกลืนของขนาดและทิศทาง
1.3 ความกลมกลืนกันของสีและบริเวณว่าง
1.4 ความกลมกลืนกันของความคิดและจุดมุ่งหมาย
1.5 ความกลมกลืนกันของลักษณะผิวและจังหวะ
 
2.สัดส่วน คือ การออกแบบที่มีสัดส่วนที่ดีจะช่วยให้งานออกแบบมีความสมดุล ช่วยให้งานออกมาสวยงามยิ่งขึ้น3.ความสมดุล คือ ความรู้สึกที่เท่ากันทั้งสองด้านทำให้ดูสง่างาม น่าสนใจ มีความเป็นระเบียบ ความสมดุลแบ่ง 2 ชนิด
3.1 ความสมดุลที่เหมือนกันทั้งสองข้าง(สมมาตร)
3.2 ความสมดุลทีทั้งสองข้างไม่เหมือนกัน(อสมมาตร)
4.จังหวะและการเคลื่อนไหว เป็นรูปแบบของการเคลื่อนไหว หรือการซ้ำกับของสิ่งของ เช่น การเต้นรำ การเดิน เป็นต้น
5.การเน้น เป็นการสร้างจุดเด่นเพื่อนดึงดูดใจ เช่น การเน้นสี เส้น รูปร่าง ขนาด เป็นต้น
6.เอกภาพ เป็นใจความหลักใจความเดียวของความคิด ที่อยู่รวมกันไม่สามารถแยกออกได้ ถ้าขาดเอกภาพจะทำให้ขาดแรงจูงใจ
7.การตัดกัน คือ การขัดกันในลักษณะตรงกันข้ามเพื่อให้ผลงานมีความเด่นชัด เช่น การใช้สีตัดกัน เส้นตั้งตัดกับเส้นนอน เป็นต้น

องค์ประกอบการออกแบบ
1.จุด เป็นส่วนประกอบที่เล็กที่สุด เมื่อต่อเรียงกันทำให้เห็นเป็นเส้น
2.เส้น เป็นสิ่งที่เชื่อมต่อระหว่างจุด 2 จุด
3.รูปร่าง มี 2 ลักษณะ
- แบบสองมิติ ไม่มีปริมาตรหรือมวล
- แบบสามมิติมี มีปริมาตรและมวล
4.ปริมาตร เป็นสิ่งที่มีสามมิติ มีด้านกว้าง ยาว และสูง
5.ลักษณะพื้นผิว
6.บริเวณว่าง
7.สี
8.น้ำหนัก


สื่อการเรียนการสอน

สื่อ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลสารสนเทศหรือเป็นตัวกลางให้ข้อมูลส่งผ่านจากผู้ส่งเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์
 
สื่อการสอน หมายถึง สิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง วิทยุ โทรทัศน์ รูปภาพ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้

การจำแนกสื่อการสอน สื่อการสอนมิใช่เป็นเพียงวัสดุอุปกรณ์ที่มนุษย์ใช้เทคโนโลยีประดิษฐ์ขึ้นมาเท่านั้น แต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกสามารถนำ มาใช้เป็นสื่อการสอนได้ทั้งสิ้น  สื่อเหล่านี้เป็นตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูลจากผู้สอนไปยังผู้เรียน และได้จำแนกสื่อการสอนตาม ประเภท ลักษณะ และวิธีการใช้ ดังนี้
 
สื่อโสตทัศน์  สื่อที่บรรจุหรือถ่ายทอดข้อมูลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการได้ยินเสียงและเห็นภาพ
ได้แก่  สื่อไม่ใช้เครื่องฉาย สื่อใช้เครื่องฉาย และสื่อเสียง

 
สื่อแบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้  รูปแบบการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การฟัง การดู และการกระทำ แบ่งเป็นขั้นดังนี้
- ประสบการณ์โดยตรง
- ประสบการณ์รอง
- ประสบการณ์นาฎกรรมหรือการแสดง
- การสาธิต
- การศึกษานอกสถานที่
- นิทรรศการ
- โทรทัศน์
- ภาพยนต์
- การบันทึกเสียง
- ทัศนสัญลักษณ์
- วจนสัญลักษณ์
 
สื่อแบ่งตามทรัพยากรการเรียนรู้
ทรัพยากร หมายถึง สิ่งทั้งปวงอันมีค่า
ทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง ทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดเองโดยธรรมชาติหรือสิ่งที่คนประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อนำมาใช้ในการเรียนรู้ และได้จำแนกสื่อการเรียนการสอนตามทรัพยากรการเรียนรู้เป็น 5 รูปแบบ ได้แก่ คน วัสดุ อาคารสถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ กิจกรรม
 
คุณค่าของสื่อการสอน
สื่อการสอนนับว่าเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ หรือเป็นสื่อที่ผู้เรียนใช้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
สื่อกับผู้เรียน
- เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจกับผู้เรียน
- การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกัน
- สื่อจะช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม
- สร้างเสริมลักษณะที่ดี
- ช่วยแก้ปัญหาความแตกต่าง
สื่อกับผู้สอน
- การใช้สื่อช่วยให้การสอนน่าสนใจยิ่งๆขึ้น
- ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหา
- เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอ


 
ขั้นตอนการใช้สื่อ ได้แก่
- ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
- ขั้นกำเนินการสอน
- ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ
- ขั้นสรุปบทเรียน
- ขั้นประเมินผู้เรียน


 

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

The history of technology in education



      จากวีดีโอเป็นวิธีการที่ก้าวของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่ ภาพวาดผนังถ้ำ เมื่อ 30,000 คริสตศักราช ต่อมาได้มีการศึกษาพีธากอรัส ทำกระดาษ ถอดความต้นฉบับ จากนั้นก็มีการศึกษาของรัฐ ในปี 1700,1800 ยุคภาพและเสียงในปี 1920 1930 1940 พัฒนาเป็นยุคข้อมูลข่าวสารในปี 1960 1970 1980 ได้เริ่มมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปี 1990 1991 เพิ่มความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าและในปี 2000 เป็นต้นไปเป็นยุคการโต้ตอบโดยใช้สื่อที่ทันสมัยจนถึงปัจจุบัน     ทั้งหมดคือประวัติความเป็นมาของการค้นคว้าเทคโนโลยีในด้านการศึกษา เริ่มจากการศึกษาเทคโนโลยีจากสิ่งเล็กๆ และพัฒนามาเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด และมีเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกต่อการเรียนการสอน เป็นการเปลี่ยนแปลง ที่อาจหมายถึงการสร้างระบบที่ท้าทายซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนการสอน และการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

ความหมายและขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
       Techno มาจากภาษากรีกว่า Technologia หมายถึงการกระทำอย่างมีระบบ ซึ่งภาษาละตินหมายถึงการสร้าง
      แนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษา มีส่วนสำคัญ 5 กลุ่ม คือ การออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการและการประเมิน
      เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำกระบวนการนำเอาเทคนิค วิธีการ วัสดุ อุปกรณ์ มาใช้ในการแก้ไขปัญหาทางการ ศึกษา เพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การสร้าง การปรับใช้ การประเมิน และการจัดการเรียนรู้

ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา

      เทคโนโลยีการศึกษา คือกระบวนการที่ซับซ้อนที่เกี่ยวกับคน การดำเนินการ ความคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์
      เทคโนโลยีการศึกษา มีขอบข่ายที่ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
1. การจัดการทางการศึกษา
2. การพัฒนาการศึกษา
3. ทรัพยากรการเรียน
4. ผู้เรียน

ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
      1.การจัดการทางการศึกษา เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อควบคุมและพัฒนาการศึกษาซึ่งแบ่งเป็น 2 ประการคือ
1.1 การจัดการหรือบริหารด้านหน่วยงานหรือองค์การ เช่น การกำหนดจุดมุ่งหมายและนโยบาย การให้การสนับสนุน การจัดบริการที่มีประสิทธิภาพ การสร้างความประสานสัมพันธ์
1.2 การจัดหรือบริหารงานด้านบุคคล เป็นการจัดบุคลากรให้เหมาะสมตามหน้าที่การงาน และความสามารถเฉพาะงาน
      2. การพัฒนาทางการศึกษา เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดค้น การปรับใช้ และการประเมินผล เช่น การวิจัย การออกแบบ การผลิต การประเมินผล การให้ความช่วยเหลือ
การใช้เครื่องมือ
      3. ทรัพยากรการเรียน ได้แก่ ทรัพยากรทุกชนิดเพื่อเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้
      4. ผู้เรียน เป็นจุดหมายปลายทางรวมของเทคโนโลยีการศึกษาอยู่ที่ผู้เรียนและความต้องการของผู้เรียน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเข้าใจลักษณะของผู้เรียน ความแตกต่างระหว่างบุคคลของแต่ละคน


วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยี

   นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การปฎิบัติ หรือสิ่งประใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยใช้หรือการพัฒนาดัดแปลงจากเดิมให้ทันสมัย
   นวัตวกรรม มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน แปลว่าทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวคิดใหม่จากสิ่งที่มีอยู่มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัวให้กลายมาเป็นโอกาศและถ่ายทอดความคิดใหม่ทำให้เกิดประโยชน์
   คำว่า นวัตกรรม เป็นศัพบัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation แปลว่า ทำใหม่หรือเปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ซึ่งในภาษาไทยใช้คำว่า นวัตกรรม ต่อมาได้มีการนำมาใช้ในวงการต่างๆ เช่น ในวงการศึกษา ก็เรียกว่า นวัฒกรรมการศึกษา

   ทอมัส ฮิวช์ ได้ให้ความหมายของ นวัตกรรม ว่าเป็นการนำวิธีใหม่ๆ มาปฏิบัติหลังจากการได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ เริ่มตั้งแต่การคิดค้น การพัฒนา ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติ
   มอร์ตัน ให้ความหมาย นวัตกรรม ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีก หมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคคลากร หรือองค์การนั้นๆ
   ไชยยศ เรืองสุวรรณ ได้ให้ความหมาย นวัตกรรม ว่าหมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจได้มาจากวิธีการใหม่ๆ
   จรูญ วงศ์สายัณห์ ได้ให้ความหมาย นวัตกรรม ว่าหมายถึงความพยายามใดๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดที่เป็นไปเพื่อนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการทีทำอยู่เดิม

   นวัตกรรมแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น
ระยะที่ 2 พัฒนาการ
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป

   ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
   นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ เกิดแรงจูงใจ และประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน สื่อต่างๆ และอิเตอร์เน็ต เป็นต้น

   นวัตนกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ๆที่อยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำมาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์ สือต่างๆ เป็นต้น